ลักษณะของสีฝุ่น สีผง หรือสีพาวเดอร์โค้ทเป็นแบบใด ผิวของสีมีแบบไหนบ้าง
ลักษณะของสีฝุ่น
สีผง หรือสีพาวเดอร์โค้ทเป็นแบบใด ผิวของสีมีแบบไหนบ้าง
สีฝุ่น
หรือ สีพาวเดอร์โค้ท ( Powder
Coat ) เป็นสีชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นผงฝุ่นแห้งคล้ายกับแป้งผง
ซึ่งสาเหตุที่ต้องทำโครงสร้างของสีออกมาในลักษณะนี้ นั่นก็เป็นเพราะสีชนิดนี้ได้รับการออกแบบค้นคว้ามาให้เหมาะกับวัสดุโลหะโดยเฉพาะ
ผ่านการพ่นด้วยปืนไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพให้เกาะบนผิวโลหะได้แน่นยิ่งกว่าการใช้สีประเภทอื่น
ซึ่งมักมีปัญหาหลุดลอกออกจากเนื้อผิวของโลหะเมื่อกระทบกับความร้อนหรือความชื้นเป็นระยะเวลานาน
แต่สำหรับ สีพาวเดอร์โค้ท จะสามารถเพิ่มอายุการใช้งานได้ยาวนานยิ่งกว่า
ลักษณะของ
สีฝุ่น สีผง หรือ สีพาวเดอร์โค้ท
มีลักษณะเป็นผงฝุ่นมีความร่วนแห้ง
โดยมีองค์ประกอบหลักที่ผลิตจาก แม่สี เรซิน รวมถึงเคมีชนิดอื่น ๆ
ตามความต้องการของผู้ผลิต ที่จะเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะลงไปให้กับสีซึ่งมีให้เลือกด้วยกันหลายเฉดสี
ประเภทของ
สีพาวเดอร์โค้ท แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1.สีฝุ่นประเภท
PE – Polyester
เป็นสีฝุ่นที่มีคุณสมบัติทนต่อ
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงความร้อนจากแสงแดดและรังสี UV ซึ่งเหมาะสำหรับ
ใช้พ่นกับชิ้นงานที่ต้องใช้งานในภายนอกอาคาร อาทิเช่น จานดาวเทียม ประตูรั้ว
ประตูบ้าน หรือสิ่งของอื่นที่ต้องตั้งไว้กลางแจ้ง
2.สีฝุ่นประเภท
EP – Epoxy
เป็นสีฝุ่นที่มีคุณสมบัติ
ทนทานต่อรอยขีดข่วนรวมไปถึงการกัดกร่อนจาก สารเคมี กรด ด่าง ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้กับชิ้นงานภายในอาคารที่ต้องทนกับสารเคมี
อาทิเช่น ตู้เย็น ถังดับเพลิง ของใช้หรือเครื่องจักรภายในโรงงานอุตสาหกรรม
และสิ่งของอื่นที่ต้องเจอกับการกัดกร่อนอยู่บ่อย ๆ
3.สีฝุ่นประเภท
CB – Combine Epoxy/Polyester (Hybrid)
สีฝุ่นที่มีฟิล์มเงางาม
และยังมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ร่วมกับชิ้นงานประเภทเฟอร์นิเจอร์หรือของใช้ที่มีความร้อน
อาทิเช่น ตู้ไฟ เตาไมโครเวฟ หรือของใช้อื่น ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ลักษณะของผิวสีฝุ่นที่พบในปัจจุบัน
เนื่องจากการแข่งขันทางการตลาด
และความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่หลากหลาย
ผู้ผลิตจึงได้คิดค้นสีฝุ่นซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยลักษณะของสีฝุ่นที่พบในตลาดอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันดังต่อไปนี้
1.ผิวหยาบ
( Texture )
2.ลายผิวแตก
( veined patterns
)
3.เงางาม
( Gloss )
4.ผิวย่น
( Wrinkle )
5.สีใส
Clear Coat
6.
เมททัลลิค ( Metallic
)
ซึ่งสีแต่ละแบบนั้น
นอกจากจะมีรูปแบบที่เลือกได้หลากหลายตามความชอบแล้ว ยังให้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
นับเป็นชนิดสีที่สามารถเติมเต็มความสวยงามควบคู่ไปกับประสิทธิภาพสำหรับวัสดุโลหะเป็นอย่างยิ่ง